เด็กติดโควิดน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่สภาพจิตใจย่ำแย่ไม่แพ้กัน

เด็กติดโควิดน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่สภาพจิตใจย่ำแย่ไม่แพ้กัน

August 21, 2021 0 By Cindy

สภาพจิตใจเด็กช่วงโควิด ผู้ปกครองห้ามมองข้าม

ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้กัดกินทุกพื้นที่ในประเทศไทย และล่าสุดวันนี้ (20 ส.ค.64) ไทยมีผู้ป่วยสะสมทะลุล้านรายเป็นที่เรียบร้อย นั่นเลยทำให้หลายคนสงสัยว่าในขณะที่ทั่วโลกมีวัคซีนคุณภาพดีแล้ว แต่ทำไมไทยยังคงมีผู้ติดเชื้อเยอะขนาดนี้?

แน่นอนว่าปัญหาโควิด แม้ว่าจำนวนของเด็กติดเชื้อน้อยกว่าผู้ใหญ่ แต่ก็ต้องยอมรับเลยว่าเรื่องนี้ไม่ได้เกิดผลกระทบกับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่สำหรับเด็กเองก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในเรื่องการเว้นระยะห่างทำให้ไม่ได้เข้าร่วมสังคมอย่างที่ควรเป็น การเรียนออนไลน์ที่เครียด ไม่ได้ออกไปเล่นซน ไม่ได้เที่ยว ไม่ได้ใช้ชีวิตวัยเด็ก พัฒนาการ สิ่งเหล่านี้นี่แหละที่จะทำให้ ‘สภาพจิตใจเด็กแย่

สภาพจิตใจเด็กช่วงโควิด ผู้ปกครองห้ามมองข้าม

สภาพจิตใจเด็กช่วงโควิด ผู้ปกครองห้ามมองข้าม

โควิดนานไปทำให้เด็กเสียความทรงจำในวัยเด็ก

ซึ่งประเด็นนี้ Unicef (ยูนิเซฟ) ได้เปิดเผยว่าตั้งแต่มีโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด มีเด็กและเยาวชนทั่วโลกมากกว่า 332 ล้านคน หรืออย่างน้อยเด็ก 1 ใน 7 คน จะต้องอยู่บ้านมานานแล้วอย่างน้อย 9 เดือน เรื่องนี้ก็ส่งผลทำให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นมีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพจิตและสุขภาวะโดยรวม

นอกจากนี้ยังมีเด็กบางกลุ่มที่ต้องเผชิญกับความรุนแรงภายในบ้าน ถูกละเลย และถูกทำร้ายร่างกาย เพราะมาตรการล็อกดาวน์ต่าง ๆ ทำให้สมาชิกในครอบครัวต้องอยู่ด้วยกันมากขึ้น เมื่อผู้ใหญ่เกิดความเครียดก็มักนำปัญหามาลงที่เด็ก ซึ่งเรื่องนี้เด็กจะไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากคุณครู คนในชุมชน หรือญาติคนอื่น ๆ ได้เลย และปัญหานี้ก็มาได้เกิดขึ้นแค่กับไทยเท่านั้น แต่ปัญหานี้ส่งผลต่อเด็กทุกประเทศทั่วโลก

โควิดนานไปทำให้เด็กเสียความทรงจำในวัยเด็ก

โควิดนานไปทำให้เด็กเสียความทรงจำในวัยเด็ก

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วไม่ว่าจะเด็กวัยทารก เด็กวัยปฐม มัธยม หรือแม้แต่มหาวิทยาลัย ก็ควรจะมีความทรงจำดี ๆ ในช่วงวัยต่าง ๆ เด็กต้องได้ออกไปเผชิญโลก รู้จักแก้ปัญหา ที่สำคัญจะต้องมีมิตรภาพ เพื่อการสร้าง Connection ในอนาคต แต่ตอนนี้เด็กกลับต้องอยู่แค่ในบ้าน แล้วยิ่งอยู่ในบ้านที่เต็มไปด้วยปัญหาด้วยแล้ว มันก็อาจทำให้เด็กยิ่งมีสุขภาพจิตใจที่ย่ำแย่ลงเท่านั้น

ผู้ปกครองต้องใส่ใจเด็กมากขึ้นเป็นเท่าตัว

นอกจากนี้สำนักงานบริการสุขภาพ (NHS) ได้มีการจัดทำรายงานสุขภาพจิตของเด็กและคนหนุ่มสาวในอังกฤษในปี 2020 ที่ผ่านมา พบว่า หลังจากได้มีการเก็บสถิติของคนรุ่นใหม่จำนวน 3,000 คนในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา พบว่าเด็กเด็กอายุระหว่าง 5 – 16 ปี มีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่มีอายุมาก

ส่วนเด็กที่มีอายุมากกว่านี้จะเกิดความกังวลว่าอนาคตของพวกเขาจะเป็นอย่างไร โดยดัชนีคนหนุ่มสาว หรือ The Youth Index พบว่า คนหนุ่มสาวเกินครึ่งรู้สึกว่าตัวเองวิตกกังวลบ่อยครั้ง หรือบางรายก็แทบตลอดเวลา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องระดับสูงสุดที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา

ผู้ปกครองต้องใส่ใจเด็กมากขึ้นเป็นเท่าตัว

ผู้ปกครองต้องใส่ใจเด็กมากขึ้นเป็นเท่าตัว

และยังมีงานวิจัยชี้ว่าในช่วง 2 – 3 ปีแรกถือเป็นช่วงเวลาสำคัญมากของเด็กแรกเกิด หากเด็กถูกละเลยไม่ได้รับความสนใจก็มักจะเกิดเป็นผลเสียด้านพัฒนาการของเด็กในระยะยาว ในกลุ่มของเด็กพิการก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เด็กบางคนเป็นกลุ่มเปราะบางที่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ แต่ก็เป็นเรื่องยากเพราะในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา แพทย์และพยาบาลได้ถูกเรียกตัวไปช่วยงานด้านอื่นมากขึ้น

ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนักเพิ่มการลงทุนในบริการและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิตของเด็ก ทั้งในบ้าน ชุมชน และโรงเรียน แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการส่งเสริมพ่อแม่และคนดูแลเด็กให้มีความรู้ และมีทักษะในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าในระหว่างรอสถานการณ์ดีขึ้น เด็กยังได้รับความรู้ ได้รับทักษะ และได้รับความอบอุ่นอย่างที่ควรจะเป็น หากปล่อยปะละเลยอาจส่งผลเสียในระยะยาว ทำให้เด็กเดินผิดเส้นทาง ใช้สล๊อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นเพื่อเป็นทางออก หากเป็นเช่นนั้นนั่นอาจส่งผลเสียเป็นวงกว้างในสังคมได้